ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่สรรพากรกำหนดให้นิติบุคคลทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินค่าบริการให้แก่ใครก็ตามจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรมสรรพากร นั่นหมายความว่าถ้าเราเป็นบุคคลธรรมดาเราจ่ายค่าบริการก็ไม่จำเป็นจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
1.เลือกเมนูการเงินในวงกลมที่ 1 เลือกภาษีหัก ณ ที่จ่ายในวงกลมที่ 2 และเลือกรายงานหัก ณ ที่จ่ายในวงกลมที่ 3
2.เลือกประเภทหัก ณ ที่จ่ายในวงกลมที่ 4 เลือกช่วงเวลาในวงกลมที่ 5 และเลือกแบบไฟล์แนบในวงกลมที่ 6
3.เมื่อเลือกแบบแนบไฟล์แล้วให้กด Download ในวงกลมที่ 7
4.ดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรมการโอนย้ายข้อมูล ภ.ด.ง. 3 โดยการกด install จะได้หน้าจอแสดงโปรแกรมโอนย้ายข้อมูลแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด. 3
5.กรอกรายละเอียดข้อมูลของผู้มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
- สาขาที่ประสงค์ยื่นแบบ กรณีสำนักงานใหญ่ บันทึกเลขที่สาขา 00000
- เลือก "ยื่นปกติ" หรือ "ยื่นเพิ่มเติม" กรณียื่นเพิ่มเติมระบุครั้งที่ยื่น
- เลือก "เดือน/ปีที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน"
6.กดปุ่ม "Brewse" เพื่อเลือกไฟล์ข้อมูล (ไฟล์นามสกุล.txt)ซึ่งได้จากการดึงข้อมูลออกจากโปรแกรมจัดทำบัญชี ซึ่งต้องเป็นข้อมูลการจ่ายเงินได้เดียวกันกับเดือนภาษีที่ต้องการยื่นแบบ จากนั้น กดปุ่ม "ตกลง"
7.จากข้อมูลมีการหัก ณ ที่จ่ายเพียงอย่างเดียวโดยแแทนค่าด้วยเลข 1 ดังนั้นเงื่อนไขออกให้ตลอดไปหรือออกให้ครั้งเดียวจึงแทนค่าด้วย 2,3 ตามลำคับ และตัวอักษรที่ใช้แบ่งแยกข้อมูลให้ใส่ (;)เมื่อกำหนดรหัสข้อมูลเรียบร้อยแล้วกดปุ่ม "ตกลง"
8.กำหนดค่าตำแหน่งข้อมูลโดยการใส่ตัวเลข 1-23 ตามภาพ
9.เมื่อกำหนดค่าตำแหน่งข้อมูลจนครบแล้ว วันเดือนปีที่จ่ายในข้อ 18 ให้เลือกเป็น "ค.ศ." และ "yyyy-mm-dd" แล้วกดปุ่มโอนย้ายข้อมูล
10.การจัดเก็บข้อมูลโอนย้ายไฟล์
- เมื่อกดปุ่ม "โอนย้ายข้อมูล" ให้เลือก Directory ที่ต้องการจัดเก็บ
- กรณีผู้หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย มีสาขาให้ระบุสาขา VAT หรือสาขา SBT หากเป็นสำนักงานใหญ่ไม่ต้องระบุ
- กดปุ่ม "ตกลง" เพื่อทำการจัดเก็บไฟล์
11.เมื่อใส่ข้อมูลถูกต้องแล้ว ระบบจะจัดเก็บและบันทึกชื่อไฟล์ให้อัตโนมัติ เป็นอันเสร็จสิ้น
เสร็จสิ้นคะ